
สภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไปทุกวัน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตก จึงทำให้ร่างกายของคนโดยเฉพาะ ‘เด็ก’ อาจปรับไม่ทันตามสภาพอากาศ สิ่งที่ตามมานั่นคืออาการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคไข้หวัด ที่มองเผิน ๆ อาจเป็นเรื่องธรรมดา แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้เป็นโรคที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องเรียนรู้วิธีดูเด็กที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยไม่ต่างจากโรคอื่น
ไข้หวัด คืออะไร
ไข้หวัด หรือโรคหวัด (Common cold, Upper respiratory tract infection – URI) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนต้น ที่ส่งผลกระทบไปถึงจมูกและลำคอ โดยอาการสำคัญของโรคนี้จะมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และเป็นไข้ร่วมด้วย ส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้มักหายไปได้ภายใน 7 วัน (ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่) ที่สำคัญหวัดยังเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายโดยอาศัยการใกล้ชิดกัน

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่พบมากในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว และในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ส่วนกลุ่มที่พบได้มากที่สุดคือกลุ่มเด็ก เด็กเล็กที่เพิ่งเข้าเรียนในปีแรก ๆ และในกลุ่มเด็กนักเรียนในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก และสถานศึกษาต่าง ๆ เนื่องจากเด็กทำกิจกรรมร่วมกันและมีความใกล้ชิดกันเป็นพิเศษ ที่เฉลี่ยการเป็นไข้หวัดประมาณเดือนละหนึ่งครั้ง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 1 – 3 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 10 – 12 ชั่วโมงนับตั้งแต่ได้รับเชื้อ และมักมีอาการรุนแรงที่สุดในช่วง 2 – 3 วันหลังจากมีอาการ แต่เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อหวัดชนิดต่าง ๆ ได้มาขึ้น ทำให้มีอาการรุนแรงน้อยลงและทิ้งช่วงห่างการป่วยนานกว่าเดิม
ลูกน้อยป่วยไข้หวัด พ่อแม่ต้องรับมืออย่างไร?
เด็กมักมีไข้เวลาเป็นหวัดหรือไอ
- หากเด็กมีไข้จะมีอาการเหงื่ออกร่วมด้วย แนะนำให้ผู้ปกครองให้เด็กกินยาพาราเซตามอลสำหรับเด็กเพื่อช่วยลดไข้ และให้เอาผ้าขนหนูชุบน้ำพอหมาดวางไว้ข้าง ๆ (รวมถึงบนหน้าผากของเด็ก) เพื่อช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายและในห้องชื้นขึ้น ช่วยให้เด็กหายใจได้สะดวก
เด็กมีน้ำมูก
- หากสังเกตอาการว่าลูกหายใจไม่สะดวก มีเสียงดังครืดคราด เด็กอาจมีน้ำมูกอยู่ให้ใช้น้ำเกลือหยดจมูกจะช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นได้ แต่ทั้งนี้หากเด็กมีอาการหนักขึ้น รุนแรง และมีเสียงดังเหมือนเสียงกรน ให้สันนิษฐานว่าอาจป่วยเป็นโรคคอตีบเทียมหรือครู้ป (Croup) ที่เป็นอาการอักเสบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัส ถ้าเวลาผ่านไปสักพักแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นแนะนำให้พาไปพบแพทย์ทันที เพราะเด็กเล็กหากป่วยอาการนี้อาจทำให้ทางเดินหายใจบวมจนตีบแคบและหายใจไม่ออกได้
เด็กอาเจียนตอนไอหรือเป็นหวัด
- เด็กบางคนเมื่อเป็นไข้หรือไออาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย เนื่องจากเด็กอาจกลืนเสมหะเข้าไป จนทำให้รู้สึกระคายเคืองที่ท้องและกระตุ้นให้อยากอาเจียน คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลดเสมหะของลูกได้ด้วยการจับลูกน้อยนอนพากเข่า หรืออุ้มพาดบ่าแล้วค่อย ๆ ตบหลังลูกบ่อย ๆ จะช่วยลดอาการอ้วกจากการกลืนเสมหะได้
โรคหวัดอาจทำให้เกิดหลอดลมอักเสบ
- อาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กในช่วงฤดูหนาว ซึ่งพ่อแม่จะสังเกตได้ว่าลูกเป็นหลอดลมอักเสบหรือไม่ ให้ดูจากอาการหวัดของลูกที่ไม่ยอมหายเป็นปกติเสียทีและเกิดหายใจถี่จนถึงขั้นปากเขียว ที่บ่งบอกให้ถึงอาการหอบ ดังนั้นควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที วิธีรักษาส่วนใหญ่คือจะให้นอนที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 2 – 3 วัน เพื่อให้เด็กได้รับของเหลวและได้รับออกซิเจนที่ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น
อย่าใจและหงุดหงิด
- เข้าใจว่าผู้ปกครองอาจจะเหนื่อยที่ต้องดูแลลูกขณะป่วย แต่เด็กเองก็คงเบื่อและไม่อยากนอนซมเจ็บป่วยเหมือนกัน ดังนั้นใจเย็น ๆ ประคับประคองอาการของลูกเอาไว้ อย่าใจร้อนและหงุดหงิดใส่เด็ก เพราะอาจทำให้เด็กกลัวและอาการหนักขึ้นได้
ไม่ว่าจะเป็นคนวัยไหนเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ ก็มีโอกาสเจ็บป่วยในทุก ๆ วัน ดังนั้นนอกจากการดูแลสุขภาพตัวเองแล้ว อย่าลืมเลือกทำประกันสุขภาพเอาไว้ เพราะอย่างน้อย ๆ นี่ก็เป็นหลักประกันที่ช่วยออกค่ารักษาพยาบาลให้ได้ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินและไม่คาดฝัน