
ร่วมรำลึกถึงพระนักพัฒนา ครูบาศรีวิชัย
หากใครที่มีโอกาสได้เดินทางไปเที่ยวที่จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวแรกที่คุณอยากเดินทางไปเยือนสักครั้งคงจะต้องเป็นพระธาตุดอยสุเทพแลนด์มาร์คการท่องเที่ยวที่สำคัญของเชียงใหม่ แต่ใครเล่าจะรู้ว่าประวัติของเส้นทางการขึ้นดอยแห่งนี้ไม่ธรรมดา เพราะนี่เป็นจุดเริ่มต้นของคำนิยามที่ไม่เคยมีใครได้รับ นั่นคือ ‘พระนักพัฒนา’
และหากคุณได้เดินทางไปเชียงใหม่แล้วกล่าวถามชาวบ้านว่าพระรักพัฒนาที่ว่าคือใคร ชาวบ้านก็พร้อมจะตอบเป็นเสียงเดียวกันแบบไม่ต้องคิดว่าบุคคลผู้นั้นคือ ครูบาศรีวิชัย ที่ท่านได้ทำการพัฒนาวัดวาอารมและถาวรวัตถุทางศาสนาอีกหลายสิบวัดในพื้นที่ภาคเหนือ

ครูบาศรีวิชัย ผู้สร้างหนทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ
ซึ่งแต่เดิมวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นวัดที่หากใครต้องการเดินทางไปนมัสการจะต้องเดินเข้าขึ้นไปด้วยความบากลำบาก โดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางราว ๆ 4 – 5 ชั่วโมง แต่แล้วครูบาศรีวิชัย ก็ได้ทำการริเริ่มการสร้างหนทางขึ้นดอยสุเทพที่ได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากชาวล้านนาในสมัยนั้น โดยใช้เวลาในการสร้างเพียงแค่ 5 เดือนเศษ ที่สำคัญยังไม่ใช้งบประมาณของรัฐอีกด้วย
ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ที่ท่านเป็นร่มกาสาวพัสตร์ให้กับประชาชน ปฏิบัติศาสนากิจด้วยความบริสุทธิ์ใจ อีกทั้งยังพัฒนาวัดวาอารามที่เสื่อมโทรมทางภาคเหนือ ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง แม้ว่าท่านจะไม่เคยได้รับสมณศักดิ์ใด ๆ ไม่มียศ หรือตำแหน่งทางคณะสงฆ์อย่างที่ควรจะเป็น แต่ท่านกลับได้รับความเลื่อมไสศรัทธาและได้รับความยกย่องจากชาวบ้านว่าเป็น นักบุญแห่งล้านนาไทย

แต่ด้วยความประสบผลสำเร็จทั้งปวง และความมีชื่อเสียงอันแรงกล้าของท่าน นั่นจึงทำให้คณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่เกิดความไม่พอใจ ทั้งยังกล่าวหาเอาผิดท่านมากถึง 3 ครั้ง ด้วยการให้เหตุผลว่าท่านไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของคณะแขวง ทั้งยังไม่สนใจจารีตแบบแผนการปกครองของคณะสงฆ์ฉบับใหม่ ด้วยเหตุผลนานาประการจึงทำให้ท่านต้องถูกนำไปสอบอยู่ที่กรุงเทพฯ หลายครั้ง และในตอนนั้นเองก็เกิดเป็นคำพูดอมตะที่ยากจะลืมว่า “หากน้ำปิงไม่ไหลย้อนขึ้นเหนือ จะไม่ขอไปเหยียบแผ่นดินเชียงใหม่”
และท่านก็ทำอย่างที่เคยกล่าวไว้จริง ๆ ว่าจะไม่กลับไปเหยียบผืนแผ่นดินเชียงใหม่ เพราะหลังจากที่ท่านถูกเรียกพบเป็นครั้งที่ 2 จนกระทั่งมรณภาพไปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2481 ท่านก็ได้ถึงแก่กาลมรณภาพที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านเอง และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2489 ตามแบบประเพณีล้านนาไทย โดยไม่ได้กลับไปเยือนเชียงใหม่อีกเลย
ครูบาศรีวิชัย ผู้ได้รับความเลื่อมไสมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งหลังจากที่ท่านมรณภาพก็มีประชาชนมาร่วมในพิธีพระราชทานเพลิงศพเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังได้มีการแย่งชิงอัฏฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย เพื่อนำไปเคารพบูชา โดยอัฏฐิธาตุของท่านที่ทางเจ้าหน้าที่รวบรวมได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน และแบ่งไปบรรจุไว้ตามวัดต่าง ๆ ทั่วภาคเหนือ ดังนี้
- วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
- วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
- วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง
- วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา
- วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
- วัดน้ำฮู จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

และถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพมาเป็นเวลามากกว่า 80 ปี แต่หากถามว่าชาวบ้านยังคงเลื่อมไสในตัวท่านอีกหรือไม่ คำตอบคือ ‘ใช่’ ซึ่งชาวบ้านต่างพากันเรียกครูบาศรีวิชัยว่า ‘ตนบุญ’ หรือ ‘นักบุญ’ ที่แสดงให้เห็นถึงการยกย่องนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ
โดยในวันที่ 11 มิถุนายน ของทุกปี ชาวล้านนาจะถือเอาวันนี้เป็นวันครบรอบวันเกิดของครูบาเจ้าศรีวิชัย มหาสมณะเจ้า และในปี 2564 นี้ก็ถือเป็นวันครบรอบ 144 ปี ของนักตนบุญแห่งล้านนานั่นเอง
ซึ่งหากใครที่ต้องการเดินทางไปสักการะอัฏฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย สามารถเดินทางไปกราบไหว้ได้ที่ 7 วัดที่เรากล่าวไปข้างต้น แต่การเดินทางก็เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นมีประกันสุขภาพไว้ใช้ในช่วงเดินทางก็จะทำให้คุณรู้สึกอุ่นใจ และสบายใจเที่ยวได้อย่างไม่มีสะดุดนะคะ